หลักสูตรปริญญาตรี

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล (Department of Mechanical Engineering Technology) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางทฤษฏีและทักษะในด้านปฏิบัติ  โดยมุ่งเน้นการนำความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์รวมถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมต่าง ๆ มาประยุกต์เข้าด้วยกันได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม  โดยมีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการออกแบบและผลิตเครื่องจักรกล  2  แขนง (PDF)

– แขนงวิชาสร้างเครื่องจักรกล  MDET(M)
– แขนงวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องกล  MDET(D)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ TDET(P) (PDF)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ MtET (PDF)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพอลิเมอร์ PoET (PDF)

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) (เทียบโอน)

  • แขนงวิชาแม่พิมพ์พลาสติก  TDET(P)-2R
  • แขนงวิชาแม่พิมพ์โลหะ  TDET(D)-2RS
  • แขนงวิชาสร้างเครื่องจักรกล MDET(M)-2R11
  • แขนงวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องกล MDET(D)-2R11

หลักสูตรปริญญาโท อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (อส.ม.) ต่อเนื่อง

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล (ออกแบบเครื่องกล–ออกแบบแม่พิมพ์) MDT/TDT (PDF)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีแมคคาทรอนิกส์ MtT (PDF)

หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม) (PDF)

  • กลุ่มวิชาด้านการออกแบบและการสร้างเครื่องจักรกล
  • กลุ่มวิชาด้านการออกแบบและการสร้างแม่พิมพ์
  • กลุ่มวิชาด้านแมคคาทรอนิกส์
  • กลุ่มวิชาด้านกระบวนการผลิตทางพอลิเมอร์
  • กลุ่มวิชาด้านกลศาสตร์การคำนวณ
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า (Department of Electrical Engineering Technology) เป็นภาควิชาที่สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปัจจุบันเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี จำนวน 2 หลักสูตร และหลักสูตรปริญญาโท จำนวน 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีทำการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (PnET) และหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (PNT) ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะทาง เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ระบบควบคุมในเครื่องจักร กระบวนการผลิต และการบำรุงรักษาทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจบริการได้ โดยการเรียนการสอนจะให้ความสำคัญทั้งเชิงทฤษฎีและลงมือปฏิบัติ เพื่อให้บัณฑิต คิดเป็น ทำเป็น เน้นความรู้เฉพาะทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง สำหรับระดับปริญญาโท เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าประยุกต์ (MAEE)  เป็นหลักสูตรสหกิจศึกษาที่มุ่งเน้นการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความสามารถของผู้เรียนในหลากหลายสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า หลักสูตรนี้เป็นการบูรณาการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติจริง นอกจากนี้หลักสูตรดังกล่าวยังสอดคล้องกับวิศวกรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมด้วย ผลลัพธ์ของหลักสูตรคือการแนะแนวทางในการสร้างทักษะด้านวิศวกรรมและทักษะการเป็นผู้นำแก่ผู้เรียน

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมบัณฑิต (วศ.บ.) 4 ปี  (PDF)

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (ภาษาไทย) เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (อิเล็กทรอนิกส์กำลัง) ภาคปกติ 148 หน่วยกิต (เสริมทักษะภาษาอังกฤษ) จ-ศ. (09.00 – 16.00) 19,000 บาท (ประมาณ)
แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
– (อิเล็กทรอนิกส์กำลัง)
– (ควบคุม)
ภาคสมทบ 148 หน่วยกิต (เสริมทักษะภาษาอังกฤษ) จ-ศ. (09.00 – 16.00) 29,000 บาท (ประมาณ)

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมบัณฑิต (วศ.บ.) 3 ปี  (PDF)

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (ภาษาไทย) เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (อิเล็กทรอนิกส์กำลัง) ภาคปกติ 124 หน่วยกิต (เสริมทักษะภาษาอังกฤษ) จ-ศ. (09.00 – 16.00) 29,000 บาท (ประมาณ)

หลักสูตรปริญญาตรี อุตสาหกรรมบัณฑิต (อส.บ.) ต่อเนื่อง 2-3 ปี  (PDF)

สาขา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 2 ปี (ภาษาไทย) ภาคปกติ 86 หน่วยกิต (เสริมทักษะภาษาอังกฤษ) จ-ศ. (09.00 – 16.00 น.) 19,000 บาท (ประมาณ)
สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 3 ปี (ภาษาไทย) ภาคปกติ 86 หน่วยกิต (เสริมทักษะภาษาอังกฤษ) จ-ศ. (17.00 – 20.00 น.)
ส (08.00 – 16.00 น.)
19,000 บาท (ประมาณ)

หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต 2 ปี

สาขา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าประยุกต์ (ภาษาไทย) ภาคค่ำ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) จ-ศ. (16.00 – 21.00 น.)
ส (08.00 – 16.00 น.)
17,000 บาท (ประมาณ)
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม หรือที่รู้จักกันในนาม CvET (Civil and Environmental Engineering Technology) เป็นส่วนหนึ่งของคณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดดำเนินการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี และระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง และ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมในเมือง เรามุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่มีทั้งศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิศวกรรมโยธาและเทคโนยีการก่อสร้าง และศาสตร์ในสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในเมือง

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 4 ปี (PDF)

สาขา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี  148 หน่วยกิต จ-ศ (08.00 – 16.00 น.) 19,000 บาท (ประมาณ)

หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต 2 ปี (PDF)

สาขา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) จ-ศ (08.00 – 16.00 น.) 19,000 บาท (ประมาณ)
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง ภาคพิเศษ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) ส-อา (18.00 – 21.00 น.) 35,000 บาท (ประมาณ)

หลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 2 ปี (PDF)

สาขา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
สาขาวิชาการจัดการด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมในเมือง ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) จ-ศ (08.00 – 16.00 น.) 19,000 บาท (ประมาณ)
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม (สหวิทยาการ) หรือที่รู้จักในนาม MIMB (Master of Science Program in Innovation Management for Business and Industry) ซึ่งวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการจัดการนวัตกรรมทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม สร้างองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำนวัตกรรมไปสู่การพาณิชย์ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมและมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฎิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม เราวางรากฐานทางทฤษฎีที่แข็งแกร่งและเสริมสร้างให้ผู้เรียนเข้าใจด้วยทำงานวิจัยในระดับมาตรฐาน และการศึกษาดูงานจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง หลักสูตรนี้ผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้นำ เป็นนักพัฒนาที่สามารถสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 2 ปี (PDF)

สาขา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม (สหวิทยาการ) ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) จ-ศ (18.00 – 21.00 น.) 18,000 บาท
สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม (สหวิทยาการ) ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (สารนิพนธ์) จ-ศ (18.00 – 21.00 น.) 18,000 บาท
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จัดทำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 ในรูปแบบสหกิจศึกษา (Co-operative Education) เปิดโอกาสให้นักศึกษาในหลักสูตรออกปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา และมีการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ปี พ.ศ.2559 เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโดยมุ่งเน้นผลิตการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ สามารถประยุกต์ใช้งานด้านวิศวกรรมในสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์
  1. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีวิสัยทัศน์ในการเลือกและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับงานด้านอุตสาหกรรมในแต่ละด้าน
  3. พื่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติที่ดี มีคุณธรรมและมีทักษะเพียงพอที่จะสามารถดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อชุมชน

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 4 ปี (PDF)

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (PDF)

สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีวิศวกรรม

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) 4 ปี 

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์ (PDF)

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ (PDF)

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน (PDF)

หลักสูตรปริญญาตรี อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) 2-3 ปี

เทคโนโลยีเครื่องต้นกำลัง (PDF)

หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) 2 ปี 

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน (PDF)

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน

หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน (PDF)

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนึ่งในสิบหน่วยงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมซึ่งประกอบไปด้วย 4 แขนงวิชา ได้แก่ แขนงวิชาการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม และแขนงวิชาโทรคมนาคม ปัจจุบันภาควิชาฯจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 3 หลักสูตรด้วยกัน ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ (MEEE) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (EnET) และหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรสาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ECT-EIT-ETT)

แขนงวิชาการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ – มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถออกแบบและผลิตสื่อในงานกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ สามารถความคุมการดำเนินงานในสถานี สามารถติดตั้งและตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่องานกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์

แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ – มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถออกแบบและประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ สามารถออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้างข้อมูล อัลกอริธึม และเทคนิคทางด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ สามารถออกแบบและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ เว็บแอฟพลิเคชันและระบบฐานข้อมูล สามารถออกแบบระบบเครือข่าย

แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม – มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ตรวจจับในอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดคุม สามารถออกแบบและวิเคราะห์ระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานควบคุมในอุตสาหกรรม

แขนงวิชาโทรคมนาคม – มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและออกแบบระบบการสื่อสารอนาล็อค-ดิจิทัล และระบบเครือคอมพิวเตอร์ทั้งแบบมีสายและไร้สาย สามารถออกแบบวงจรไมโครเวฟและอุปกรณ์แพร่กระจายคลื่น สามารถใช้โปรแกรมจำลองในการทำงานระบบสื่อสารและออกแบบอุปกรณ์สื่อสาร

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) 4 ปี 

รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
แขนงโทรคมนาคม (ภาษาไทย) ภาคปกติ 147 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 25,000 บาท (เหมาจ่าย)
แขนงโทรคมนาคม (ภาษาไทย) ภาคสมทบพิเศษ 147 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 25,000 บาท (เหมาจ่าย)
แขนงคอมพิวเตอร์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 147 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 25,000 บาท (เหมาจ่าย)
แขนงเครื่องมือวัดและควบคุม (ภาษาไทย) ภาคปกติ 147 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 25,000 บาท (เหมาจ่าย)
แขนงการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 147 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 25,000 บาท (เหมาจ่าย)

หลักสูตรปริญาตรี อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) 2-3 ปี

รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม

สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
แขนงโทรคมนาคม (ภาษาไทย) ภาคปกติ 85 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 2 ปี
จ-ศ (17.00 – 21.00 น.) 3 ปี
ส (09.00 – 16.00 น.) 3 ปี
25,000 บาท (เหมาจ่าย)
 แขนงคอมพิวเตอร์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 85 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 2 ปี
จ-ศ (17.00 – 21.00 น.) 3 ปี
ส (09.00 – 16.00 น.) 3 ปี
25,000 บาท (เหมาจ่าย)
 แขนงเครื่องมือวัดและควบคุม (ภาษาไทย) ภาคปกติ 85 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 2 ปี
จ-ศ (17.00 – 21.00 น.) 3 ปี
ส (09.00 – 16.00 น.) 3 ปี
25,000 บาท (เหมาจ่าย)

หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) 2 ปี

รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม

สาขา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 19,000 บาท (ประมาณ)
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) จ-ศ (09.00 – 16.00 น.)
ส. (09.00 – 16.00 น.)
19,000 บาท (เหมาจ่าย)
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม เดิมเป็นเพียงแผนกวิชาเทคโนโลยีการเชื่อมสังกัดอยู่ในภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล ต่อมาได้จัดตั้งเป็นโครงการภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม ในปี พ.ศ.2548 และได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2549  เพื่อเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม และหลักสูตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเชื่อม โดยมีรูปแบบการศึกษามุ่งเน้นทางการเสริมสร้างขีดความสามารถในด้านกระบวนการเชื่อม เทคโนโลยีด้านการเชื่อม เครื่องมือ  การตรวจสอบงานเชื่อม และควบคุมคุณภาพควบคู่ไปกับคุณธรรม  เดิมภาควิชาเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีละ 4 ห้อง ห้องเรียนละ 30 คน  โดยมีการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมบัณฑิต (วศ.บ.) 4 ปี  (PDF)

เทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม

หลักสูตรปริญญาตรี อุตสาหกรรมบัณฑิต (อส.บ.) ต่อเนื่อง 2-3 ปี (PDF)

เทคโนโลยีการเชื่อม

หลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) 2 ปี (PDF)

เทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ

ภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ  ภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ หรือเรียกชื่อย่อว่า IPTM เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ ในรูปแบบสหกิจศึกษาโดยเน้นการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถด้านการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ สามารถประยุกต์ใช้งานด้านการจัดการเทคโนโลยีการผลิตในสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรม ด้านการโปรแกรม การสื่อสารข้อมูลและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนชั้นนำตามความถนัด เป็นเวลา 10 เดือน เพื่อเป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้ในห้องเรียนกับประสบการณ์จากการทำงานจริง อันนำไปสู่การผลิตบัณฑิตที่มีแนวคิดเชิงปฏิบัติ ทำงานเป็น สามารถบูรณาการความรู้ด้านการจัดการผลิตและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล (Smart Industry Smart City and Smart People) ในการบูรณาการโลกของการผลิตกับการเชื่อมต่อทางเครือข่าย (Internet of Things) นอกจากนั้น นักศึกษายังได้รับการฝึกทักษะด้านการวิจัยในรายวิชาโครงงานพิเศษ โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกไปประกอบวิชาชีพ

หลักสูตรปริญญาตรีปรับปรุง พ.ศ. 2565 วิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565,คำอธิบายรายวิชา,แผนภูมิแสดงความต่อเนื่องของหลักสูตร

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ELO 1 (S) สามารถอธิบายหลักการพื้นฐานทางด้านการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศได้

ELO 2 (S) สามารถเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานด้านการจัดการอุตสาหกรรมเบื้องต้นได้

ELO 3 (S) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ เพื่อเพิ่ม ความสามารถในการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคมได้

ELO 4 (S) สามารถบูรณาการความรู้ทางด้านการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศในการทำงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ELO 5 (G) สามารถใช้ทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพื่อสื่อสาร นำเสนอ และแลกเปลี่ยนข้อมูลใน การทำงานได้

ELO 6 (G) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 141 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  •        เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และ ภาษาต่างประเทศหรือเทียบเท่าจากสถาบัน การศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง และผ่านการเรียนรายวิชา คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่น้อยกว่า 3 0หน่วยกิต

หรือ

  •        เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาโยธาหรือสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือสาขาเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง

ค่าธรรมเนียมการศึกษา 25,000 บาท

ภาคการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน

ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

– นักเทคโนโลยีการจัดการการผลิตและสารสนเทศในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม

– นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานการจัดการการผลิต

– นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ

– ผู้จัดการหรือดูแลงานด้านโลจิสติกส์

– ผู้ประกอบอาชีพอิสระในสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการจัดการการผลิตและสารสนเทศ

โครงสร้างหลักสูตร

1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
ก.        กลุ่มวิชาภาษา

–        วิชาบังคับ

–    วิชาเลือก

12

6

6

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

           ข.  กลุ่มวิชาบูรณาการ 3 หน่วยกิต
           ค.  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 9 หน่วยกิต
           ง.  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
           จ. กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ 3 หน่วยกิต
2)   หมวดวิชาเฉพาะ 105 หน่วยกิต
      2.1  กลุ่มวิชาแกน 15 หน่วยกิต
      2.2  กลุ่มวิชาชีพ

–  วิชาบังคับ

–  วิชาเลือก

75

69

6

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

      2.3  กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 15 หน่วยกิต
3)   หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวม 141 หน่วยกิต

สถานที่ติดต่อ

สำนักงานภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ ชั้น 2 อาคาร 65วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยียพระจอมเกล้าพระนครเหนือ1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

 http://iptm.cit.kmutnb.ac.th/

   02 – 555 – 2000 ext 6144

  https://www.facebook.com/IPTMKMUTNB

  iptm_65@cit.kmutnb.ac.th

โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน เป็นหน่วยงานระดับภาควิชา สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม บริหารงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอน 3 สาขา ได้แก่ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาเครื่องกล และสาขาโยธา (โปรแกรมภาษาไทย, โปรแกรมภาษาอังกฤษ) โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนที่ฝึกให้นักเรียนมีทักษะความชำนาญในงานปฏิบัติ เสริมสร้างประสบการณ์ทางเทคนิค ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมที่มีความสำคัญสำหรับนักเรียนนำไปใช้ศึกษาต่อระดับในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในประเทศหรือต่างประเทศ

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ต้องสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้ายระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 (ไม่รับสอบเทียบ ม.3) โดยเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อจะต้องมีระดับผลการเรียนเฉลี่ย (GPA)  เฉพาะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) ไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ มีผลการเรียนรวมเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ชั้น ม.1 – ม.3 ไม่ต่ำกว่า 2.50 โดยมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการเรียนจากระเบียนการแสดงผลการเรียนหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3  มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3  (ปพ.1:3)  เท่านั้น

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี

สาขา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
สาขาเครื่องกล (ภาษาไทย) 131 หน่วยกิต จ-ศ (08.00 – 18.00 น.) 18,000 บาท (เหมาจ่าย)
สาขาเครื่องกล (ภาษาอังกฤษ) 131 หน่วยกิต จ-ศ (08.00 – 18.00 น.) 55,000 บาท (เหมาจ่าย)
สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ภาษาไทย) 131 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 18.00 น.) 18,000 บาท (เหมาจ่าย)
สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ภาษาอังกฤษ)  131 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 18.00 น.) 55,000 บาท (เหมาจ่าย)
สาขาโยธา (ภาษาไทย) 131 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 18.00 น.) 18,000 บาท (เหมาจ่าย)
สาขาโยธา (อังกฤษ) 131 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 18.00 น.) 55,000 บาท (เหมาจ่าย)

ทุนการศึกษา

ทุนการศึกษาจากเงินพัฒนาวิชาการ (รายละเอียดเพิ่มเติม Facebook โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน)
–     ประเภทเรียนดี
–     ประเภทขาดแคลนทุนทรัพย์
–     ประเภทลดหย่อนค่าเล่าเรียน

หลักสูตรปริญญาโท

  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศกรรมพลังงานและยานยนต์
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศกรรมพลังงาน (MEET) (PDF)

Master of Science in Information and Industrial Technology Management

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและสารสนเทศ

หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564
คำอธิบายรายวิชา,แผนภูมิแสดงความต่อเนื่องของหลักสูตร

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ELO1 (S) สามารถประยุกต์องค์ความรู้ด้านการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและสารสนเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานได้อย่างเหมาะสม

ELO2 (S) สามารถวิเคราะห์และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมได้ อย่างเหมาะสม

ELO3 (G) สามารถใช้ทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพื่อสื่อสารน าเสนอข้อมูลและ เผยแพร่ผลงานวิจัยได้

ELO4 (S) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

ลักษณะของหลักสูตร
                         ปริญญาโท 2  ปี
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
36 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) หรือ ปริญญาบริหารธุรกิจ หรือ ชื่อปริญญา และสาขาวิชาอื่นที่เทียบเท่าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

2. ผู้ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครสอบเข้าศึกษาต่อได้

3.คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
20,000 บาท (โดยประมาณ)
ภาคการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน

ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

วันจันทร์-ศุกร์             เวลา 18.00 – 21.00 น.
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. นักเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมและสารสนเทศในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม

2.  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและสารสนเทศ

3.  ผู้จัดการโครงการทางด้านการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและสารสนเทศ

4.  ผู้ประกอบอาชีพอิสระในสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ

5.  ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและสารสนเทศ

6.  อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการประจำสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

7.  วิทยากรทางด้านการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและสารสนเทศ

8.  ธุรกิจส่วนตัว

สถานที่ติดต่อ

สำนักงานภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ ชั้น 2 อาคาร 65วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยียพระจอมเกล้าพระนครเหนือ1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

 http://iptm.cit.kmutnb.ac.th/

   02 – 555 – 2000 ext 6144

  https://www.facebook.com/IPTMKMUTNB

  iptm_65@cit.kmutnb.ac.th

เว็บไซต์ภาควิชา

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.