สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม

         ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมการเชื่อมมีการพัฒนาและการแข่งขันสูง ทำให้ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถซึ่งเป็นงานเฉพาะทาง ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจโดยตรง ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อมจึงได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมให้มีการพัฒนาทางด้านอาชีพในสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม ตลอดจนยกระดับการศึกษาของประชาชน ที่สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า ให้ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ที่สูงขึ้นไป

ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 2-3 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 85 หน่วยกิต

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเครื่องกล สาขาเทคนิคโลหะ อุตสาหกรรมการต่อเรือ เทคนิคการเชื่อมอุตสาหกรรม เทคนิคการเชื่อมโลหะ เทคนิคงานท่ออุตสาหกรรม เทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร เทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์
  • มีคุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

หลักสูตร

1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 15 หน่วยกิต
 กลุ่มวิชาภาษา 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาบูรณาการ 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2)   หมวดวิชาเฉพาะ 64 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน 36 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาชีพ 28 หน่วยกิต

ประสบการณ์วิชาชีพอุตสาหกรรม

(ไม่นับหน่วยกิต)

2

240

หน่วยกิต

ชั่วโมง

หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวม 85 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : เมษายน – พฤษภาคม

ค่าธรรมเนียมการศึกษา  25,000 บาท /ภาคการศึกษา

ELO 1 (S)มีความสามารถใช้ความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  กับการทำงานด้านเทคโนโลยีการเชื่อม และบูรณาการเพื่อร่วมแก้ปัญหาด้านอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ELO 2 (S)มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางอุตสาหกรรมของกระบวนการเชื่อมแบบหลอมละลาย ไม่หลอมละลาย และกระบวนการเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ
ELO 3 (S)มีความเข้าใจพฤติกรรมของวัสดุเพื่อสามารถเลือกใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสมกับกับเทคโนโลยีการเชื่อม

ELO 4 (S) มีความสามารถในการออกแบบโครงสร้างงานเชื่อม ภาชนะรับแรงดัน และระบบท่ออุตสาหกรรม โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามหลักความปลอดภัย และเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น AWS, ASME เป็นต้น
ELO 5 (S)มีความสามารถในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานสากล เช่น ASNT รวมถึงการประเมินราคา ตามจรรยาบรรณในวิชาชีพ
ELO 6 (G) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะ ทางด้านเทคโนโลยี สื่อสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต ในการนำเสนอผลงาน การทำงานเป็นทีม รวมถึงการศึกษาด้วยตนเองในการแก้ปัญหาทางอุตสาหกรรมการเชื่อม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • วิศวกรเชี่ยวชาญในงานเชื่อม งานท่ออุตสาหกรรม และการตรวจสอบงานเชื่อม
  • อุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องจักรหนัก
  • อุตสาหกรรมถังแรงดันและหม้อน้ำ
  • อุตสาหกรรมการต่อเรือ
  • งานเชื่อมและซ่อมบำรุงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
  • อุตสาหกรรมยานยนต์
  • ผู้ตรวจสอบคุณภาพงานเชื่อม
  • ผู้ออกแบบงานเชื่อมอุตสาหกรรม
  • นักวิจัยในกระบวนการงานเชื่อมและวัสดุประสาน
  • ผู้ประกอบการเกี่ยวกับระบบวิศวกรรมงานเชื่อมและระบบท่ออุตสาหกรรม

สถานที่ติดต่อ

สำนักงานภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม ชั้น 4 อาคาร 62 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยียพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

http://wdet.cit.kmutnb.ac.th/

02 – 555 – 2000 ext 6406 (สำนักงานภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม)

https://www.facebook.com/WeldingTime/

Wdet-cit@cit.kmutnb.ac.th