สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน
ปัจจุบันปริมาณการเดินทางและการขนส่งทางอากาศของประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อซื้อขายกับต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักทางหนึ่งของประเทศ ประกอบกับในส่วนของอุตสาหกรรมการบินนั้น รัฐบาลตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชียจึงใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางทางการบินของประเทศ ปัจจุบันพบว่าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารคับคั่งมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบินได้76 เที่ยวต่อชั่วโมง และผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) และเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (สามารถรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี) ปัจจุบันมีสายการบินบริการทั้งสิ้นถึง 116 สายการบิน ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินการจัดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน เป็นหลักสูตรสหกิจศึกษา ที่เน้นการศึกษาทฤษฎีและการปฏิบัติจริง และงานวิจัยทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน เพื่อหล่อหลอมให้บัณฑิตมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งหลักสูตรนี้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็งสมดุลอย่างสร้างสรรค์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตและบริการ การค้า การลงทุนการพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรมสังคมมั่นคงเป็นธรรม มีพลังและเอื้ออาทรเน้นการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ ที่อยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 148 หน่วยกิต
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กลุ่มวิชา
เครื่องกล (สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชา ช่างยนต์) กลุ่มวิชา
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชา
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์)
หรือเทียบเท่าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง วิทยาลัย
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม - เป็นผู้มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต พ.ศ. 2552 และฉบับที่ปรับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 148 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา 4 ปีไม่เกิน 8 ปีการศึกษา เป็นระบบทวิภาค โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพลศึกษา 2 หน่วยกิต
วิชาเลือกในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 10 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 112 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 7 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิศวกรรม 18 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาวิศวกรรมหลัก 17 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาชีพ 64 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคสนาม 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : เมษายน – พฤษภาคม
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
- ค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตตลอดหลักสูตรโดยประมาณ
391,619 บาท/คน/ปี
ELO 2 อธิบายโครงสร้างอากาศยาน (Aircraft airframe) พื้นฐานได้
ELO 3 สามารถปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และมาตรฐานความปลอดภัยด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานสากลได้
ELO 4 สามารถใช้เครื่องมือพื้นฐานการซ่อมบำรุงอากาศยานได้อย่างถูกวิธี
ELO 5 สามารถอ่านและปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Manual) ได้
ELO 6 มีทักษะในการ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
ELO 7 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้สำเร็จลุล่วงโดยคำนึงถึงหน้าที่และบทบาทของตนเองในองค์กร
ELO 8 มีความรับผิดชอบ คุณธรรม และจริยธรรม
สถานที่ติดต่อ
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง ชั้น 2 อาคาร 63
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
http://powereng.cit.kmutnb.ac.th/
02 – 555 – 2000 ext 6427