สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ

อุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ แต่จำนวนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในประเทศยังขาดอยู่ หลักสูตรนี้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิต ด้วยความเชี่ยวชาญในการออกแบบและผลิตแม่พิมพ์เข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โปรแกรมสหกิจศึกษานี้รวมทฤษฎีและการปฏิบัติในช่วง 4 เดือนของการฝึกอบรมภาคปฏิบัติในภาคเอกชนหรือภาครัฐเพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถของนักศึกษาในการออกแบบแม่พิมพ์และผลิตภัณฑ์และการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ช่วย โปรแกรมสหกิจศึกษาผสมผสานการเรียนรู้ในห้องเรียนเข้ากับประสบการณ์การทำงานจริง ส่งผลให้บัณฑิตที่มีแนวคิดเชิงปฏิบัติสามารถทำงานได้จริงและสามารถบูรณาการความรู้ด้านแม่พิมพ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์และการผลิตเข้ากับผลงานได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประเทศในการรวมโลกการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลและ Internet of Things นักศึกษายังได้รับการสอนทักษะการวิจัยในวิชาโครงการออกแบบแม่พิมพ์และผลิตภัณฑ์ก่อนออกไปปฏิบัติจริง นักศึกษาได้ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์งานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 149 หน่วยกิต

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมกันไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาเครื่องกล ได้แก่ ช่างกลโรงงาน ช่างแม่พิมพ์โลหะ ช่างแม่พิมพ์พลาสติก ช่างเขียนแบบเครื่องกล ช่างเทคนิคการผลิต หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาอื่น ๆ หรือ
  • เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างแม่พิมพ์โลหะ ช่างแม่พิมพ์พลาสติก ช่างกลโรงงาน ช่างเขียนแบบเครื่องกล หรือเทียบเท่า หรือ
  • ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดข้างต้นให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการวิชาการ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล หรือ
  • มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

หลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

 

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร

149 

หน่วยกิต

 

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30

หน่วยกิต

 

  ก. กลุ่มวิชาภาษา

     – วิชาบังคับ

     – วิชาเลือก

12

6

6

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

 

  ข. กลุ่มวิชาบูรณาการ        

3

หน่วยกิต

 

  ค. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์                          

9

หน่วยกิต

 

  ง. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

3

หน่วยกิต

 

  จ. กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ

3

หน่วยกิต

 

 

 

 

 

2) หมวดวิชาเฉพาะ

113

หน่วยกิต

 

    1. กลุ่มวิชาแกน

        – วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์                                           
        – วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม

45

18

27

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

 

    2. กลุ่มวิชาชีพ

        – วิชาชีพบังคับ

        – วิชาชีพเฉพาะ

          – วิชาบังคับ

          – วิชาเลือก

        – วิชาปฏิบัติงานพื้นฐานวิศวกรรม

        – วิชาสหกิจศึกษา

68

23

35

32

3

4

6

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

 

 

3) หมวดวิชาเลือกเสรี

6

หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : เมษายน – พฤษภาคม

ค่าธรรมเนียมการศึกษา  25,000 บาท /ภาคการศึกษา

ELO 1 (S) สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรม เพื่อกำหนดกรอบความคิดของแบบจำลองทางเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ รวมถึงประยุกต์กระบวนการผลิต เพื่อผลิตแม่พิมพ์และเครื่องมือได้
ELO 2 (S) สามารถระบุความสัมพันธ์ของปัญหา สืบค้นทางเอกสาร และแก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือที่ซับซ้อน เพื่อให้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยใช้หลักการและเครื่องมือ วิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
ELO 3 (S)สามารถหาคำตอบของปัญหาทางเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือที่ซับซ้อน และออกแบบกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ ตามความต้องการและข้อกำหนดงาน โดยคำนึงถึงข้อกำหนดด้านสังคม ความปลอดภัย การอนามัยและสิ่งแวดล้อมหรือมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
ELO 4 (S) สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย และประเมินปัญหาทางเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ ที่ซับซ้อน โดยการตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมาย ข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล
ELO 5 (S)สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิควิธี ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือทางเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัย โดยคำนึงถึง ข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์นั้นๆ ตามหลักการที่ถูกต้อง
ELO 6 (G) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลาย ในสหสาขาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานในฐานะสมาชิกของกลุ่มและผู้นำกลุ่มได้
ELO 7 (G) สามารถติดต่อสื่อสารในงานวิศวกรรม วิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิผล ด้วยวาจา ด้วยการเขียนรายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรม ตลอดจนสามารถ ออกคำสั่งและรับคำสั่งงานได้อย่างชัดเจน
ELO 8 (G) มีความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม ต่อบริบทของสังคม และสิ่งแวดล้อม และสามารถประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ ที่ซับซ้อนต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
ELO 9 (G) มีความเข้าใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และยึดถือตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพตามหลักวิชาการ
ELO 10 (G) มีความรู้และความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ และการบริหารงานในกระบวนการผลิตทางเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและสถานการณ์ของ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในประเทศและเศรษฐกิจโลก
ELO 11 (G) ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาคุณภาพชีวิต และดำเนินชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • วิศวกรการผลิตและการบำรุงรักษาแม่พิมพ์และเครื่องมือ
  • วิศวกรการออกแบบชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ด้านพลาสติกและโลหะ
  • วิศวกรควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพในกระบวนการผลิตแม่พิมพ์และเครื่องมือ
  • วิศวกรฝ่ายการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • วิศวกรการผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ด้านโลหะและพลาสติก
  • ประกอบกิจการและอาชีพส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับด้านแม่พิมพ์และเครื่องมือ
  • บุคลากรทางการศึกษา
  • อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สถานที่ติดต่อ

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ ชั้น 1 อาคาร 62

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

 http://mm.cit.kmutnb.ac.th/program.php

02 – 555 – 2000 ext 6428

 

Asst. Prof. Piboon Sinpayakun (pibbon.s@cit.kmutnb.ac.th)

          Mr. Narongsak Nithipratheep (narongsak.n@cit.kmutnb.ac.th)

          Asst. Prof. Dr. Uten Khanawapee (uten.k@cit.kmutnb.ac.th)

          Dr. Sorasak Wongmanee (sorasak.w@cit.kmutnb.ac.th)

          Asst. Prof. Manat Hearunyakij (manat.h@cit.kmutnb.ac.th)

          Asst. Prof. Vatchara Layluk (vatchara.l@cit.kmutnb.ac.th)

          Dr. Sakchai Muangpasee (sakchai.m@cit.kmutnb.ac.th)

          Asst. Prof. Dr. Arkarapon Sontamino (arkarapon.s@cit.kmutnb.ac.th)

          Dr. Chiwapon Nitnara (chiwapon.n@cit.kmutnb.ac.th)

          Mr. Kumpon Tragangoon (kumpon.t@cit.kmutnb.ac.th)

          Mr. Tawatchai Maidung (tawatchai.m@cit.kmutnb.ac.th)