สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาสังคมและธุรกิจ สาขาวิชาภาษา โดยให้บริการวิชาพื้นฐานสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ (ไทย-เยอรมัน) บริการวิชาพื้นฐานวิชาชีพทางวิศวกรรมศาสตร์ (คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี) ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีวิศวกรรมเฉพาะทางของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และให้บริการรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม มีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม (สหวิทยาการ) หรือที่รู้จักในนาม MIMB (Master of Science Program in Innovation Management for Business and Industry) โดยหลักสูตรกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้ สามารถทำงานและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการจัดการนวัตกรรมทั้งในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม สามารถประยุกต์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนและการวิจัยไปสร้างนวัตกรรมได้ สามารถจัดการผลงานนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ในทางพาณิชย์ได้ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีภาวะผู้นำ
หลักสูตรได้วางรากฐานทางทฤษฎีที่แข็งแกร่งและเสริมสร้างให้ผู้เรียนเข้าใจด้วยการทำงานวิจัยในระดับมาตรฐาน ประกอบกับการศึกษาดูงานจากสถานประกอบการที่มีจุดเด่นทางด้านนวัตกรรม เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความพร้อมในการเป็นนักพัฒนาที่สามารถสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบัน
ลักษณะของหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) หรือชื่อปริญญา และสาขาวิชาอื่นที่เทียบเท่าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความเห็นชอบของกรรมการประจำหลักสูตร
- ผู้ที่จะศึกษาแผน ข จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
- คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
- ผู้ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หลักสูตร
แผน ก แบบ ก 2 หมวดวิชาบังคับ 27 หน่วยกิต วิชาบังคับ 15 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต แผน ข หมวดวิชาบังคับ 24 หน่วยกิต วิชาบังคับ 18 หน่วยกิต การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
- สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม (สหวิทยาการ) ภาคปกติ (วิทยานิพนธ์ และ สารนิพนธ์) ช่วงเวลาเรียน จ.-ศ. (18.00 – 21.00 น.)
ค่าเทอม 18,000 บาท/ภาคการศึกษา
- สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม (สหวิทยาการ) ภาคพิเศษ (วิทยานิพนธ์ และ สารนิพนธ์) ช่วงเวลาเรียน ส.-อา. (18.00 – 16.00 น.)
ค่าเทอม 35,000 บาท/ภาคการศึกษา
ELO 2 (S) ประยุกต์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการเรียน การสอน และการวิจัยไปสร้างนวัตกรรมได้
ELO 3 (S) สร้างผลงานนวัตกรรมเพื่อวางแผนนำใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์และสังคมได้
ELO 4 (G) ตระหนักรู้ถึงคุณธรรม จริยธรรม และมีภาวะผู้นำ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้บริหารด้านการจัดการนวัตกรรม ทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
- นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
- นักออกแบบผลิตภัณฑ์
- บุคลากรทางการศึกษา
- ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม
- ผู้จัดการโครงการ
- ผู้จัดการผลิตภัณฑ์
- อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขา
สถานที่ติดต่อ
สำนักงานภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม ชั้น 3 อาคาร 63
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยียพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
02 – 555 – 2000 ext 6611
https://www.facebook.com/InnovationxManagementxForxBusinessxAndxIndustry/