สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการออกแบบและผลิตเครื่องจักรกล

ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 149 หน่วยกิต

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา หรือโดยความเห็นชอบของภาควิชา จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ผ่านการเรียนรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา หรือโดยความเห็นชอบของภาควิชา จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

หลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร
149
หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
ก. กลุ่มวิชาภาษา
12
หน่วยกิต
    – วิชาบังคับ
6
หน่วยกิต
    – วิชาเลือก
6
หน่วยกิต
ข. กลุ่มวิชาบูรณาการ
3
หน่วยกิต
ค. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
9
หน่วยกิต
ง. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3
หน่วยกิต
 
จ. กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ
3
หน่วยกิต
 
2) หมวดวิชาเฉพาะ
113
หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาแกน
42
หน่วยกิต
ก. วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม
24
หน่วยกิต
ข. วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
18
หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพ
71
หน่วยกิต
ก. วิชาชีพบังคับ
32
หน่วยกิต
ข. วิชาเฉพาะแขนงวิชาสร้างเครื่องจักรกล
33
หน่วยกิต
   – วิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา
   – วิชาเลือกเฉพาะแขนงวิชา
ค. วิชาเฉพาะแขนงวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องกล
27
6
33
หน่วยกิต
หน่วยกิต
หน่วยกิต
   – วิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา
   – วิชาเลือกเฉพาะแขนงวิชา
27
6
หน่วยกิต
หน่วยกิต
ง. วิชาสหกิจศึกษา
6
หน่วยกิต
3. วิชาปรับพื้นฐาน+ (เฉพาะแขนงวิชาสร้างเครื่องจักรกล) (S/U)   (ไม่นับหน่วยกิต)
+หมายเหตุ เป็นรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพเฉพาะแขนงวิชาสร้างเครื่องจักรกล
3) หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
 

ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

ค่าธรรมเนียมการศึกษา  25,000 บาท /ภาคการศึกษา

ELO 1 (G) มีความสามารถในการประยุกต์พื้นฐานทางวิศวกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ให้การประกอบวิชาชีพ
ELO 2 (G) มีทักษะการสื่อสาร มีทักษะการนำเสนอ และมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
ELO 3 (G) มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรม ทำงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
ELO 4 (G) มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลและศึกษาด้วยตนเอง และใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO 5 (S) มีความสามารถในการเขียนแบบสั่งผลิตและสร้างเครื่องจักรกล
ELO 6 (S) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องกล
ELO 7 (S) มีทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อออกแบบและควบคุมเครื่องจักรกล
ELO 8 (S) มีทักษะในการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมเครื่องกล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • วิศวกรฝ่ายผลิต
  • วิศวกรฝ่ายออกแบบและพัฒนา
  • วิศวกรประสานงานโครงการ
  • ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องจักรกลและผลิตเครื่องจักรกล
  • ผู้ช่วยสอน ผู้ช่วยวิจัย ฯลฯ
  • บุคลากรทางการศึกษา

สถานที่ติดต่อ

สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล ชั้น 4 อาคาร 62

สาขาวิชาสร้างเครื่องจักรกล ชั้น 1 อาคาร 63

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

https://sites.google.com/site/dgkmutnb

02 – 555 – 2000 ext 6426

https://www.facebook.com/mdetdgkmutnb/