สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566–2570) ที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับขั้นที่ละเอียดและเชื่อมโยงมากขึ้นทั้งทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน และทุนทางวัฒนธรรมที่จะเชื่อมโยงกับทุนอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเข้าสู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และสังคมที่มีความเสมอภาคและมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาวคือ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลและความสมานฉันท์ในทุกภาคส่วนและทุกระดับ ประกอบกับประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยสามเสาหลัก คือ ด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจอาเซียน สังคมและวัฒนธรรม ต่อไปจะทำให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้น ทั้งในทักษะฝีมือแรงงาน การค้าขาย การพัฒนาเทคโนโลยี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ เป็นหลักสูตรที่เน้นการผลิตวิศวกรเฉพาะทางผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ ที่มีความรู้ความสามารถเป็นมาตรฐานสากล มีคุณธรรม จริยธรรมและระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อสังคม สามารถบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับคุณธรรมและสังคมได้ และเน้นการใช้เทคโนโลยีอย่างรู้จริงและยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ต้องการ พัฒนาคน พัฒนานวัตกรรม พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มี ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิชาการขั้นสูง ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อเป็นผู้พัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสม อันก่อให้เกิดการพัฒนา เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี เทียบโอน 3 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 124 หน่วยกิต

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) กลุ่มวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาเครื่องกล สาขาช่างยนต์ สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สาขาไฟฟ้ากำลัง หรือ
  • ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดข้างต้นให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการภาควิชา หรือ
  • มีคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

หลักสูตร

หลักสูตรเทียบโอน 3 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง    จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 124  หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา  3  ปี  ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา เป็นระบบทวิภาค โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ 

  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 15   หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเฉพาะ 103 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเลือกเสรี 6    หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : เมษายน – พฤษภาคม

ค่าธรรมเนียมการศึกษา  25,000 บาท /ภาคการศึกษา

ELO 1 มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับองค์ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
ELO 2 ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการทำความเย็นและการปรับอากาศได้อย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
ELO 3 ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อปฏิบัติงานจริงได้ โดยสามารถติดตั้งและควบคุมการติดตั้งและการทำงานระบบการทำความเย็นและการปรับอากาศให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการออกแบบ
ELO 4 มีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และการปรับตัวกับผู้ร่วมงาน ผ่านสหกิจศึกษาและโครงงานปริญญานิพนธ์
ELO 5 บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ของการเป็นวิศวกร มีความใฝ่รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการทำความเย็นและการปรับอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • วิศวกรการทำความเย็นและการปรับอากาศ
  • นักเทคโนโลยีการทำความเย็นและการปรับอากาศ
  • นักวิชาการการทำความเย็นและการปรับอากาศ
  • เจ้าของกิจการ
  • บุคลากรทางการศึกษา
  • ผู้ช่วยสอน
  • ผู้ช่วยวิจัย ฯลฯ

สถานที่ติดต่อ

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง ชั้น 2 อาคาร 63

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

http://powereng.cit.kmutnb.ac.th/

02 – 555 – 2000 ext 6427