สาขาวิชาเทคโนโลยีแมคคาทรอนิกส์
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมบัณฑิตมืออาชีพในสาขาเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์ บัณฑิตมีทักษะทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ สามารถนำเทคโนโลยีไปสร้างงานสร้างเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ บัณฑิตมีความรู้เฉพาะทางในการสร้างและควบคุมระบบอัตโนมัติของกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม สามารถใช้เทคโนโลยีควบคุมการผลิตและควบคุมกึ่งอัตโนมัติ มีภาวะผู้นำ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และมนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม. นักเรียนเรียนรู้การคำนวณสมการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์ในช่วงสองปีแรกโดยใช้คณิตศาสตร์เชิงทฤษฎีและปฏิบัติ วิทยาศาสตร์ และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ค้นคว้าและเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลภายนอกด้วยตนเอง การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบวงจรนิวเมติกส์ ไฮดรอลิกส์เบื้องต้น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การควบคุมและควบคุมมอเตอร์ เซ็นเซอร์ แอคทูเอเตอร์ และพลังงานอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรม ในช่วงสองปีที่ผ่านมา นักเรียนสามารถคำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ขั้นสูงได้ ออกแบบระบบควบคุม, สร้างชิ้นงานที่ใช้ความรู้จากเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์, การเขียนโปรแกรม PLC, การควบคุมอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ, การออกแบบวงจรฝังตัว, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การควบคุมวงจรอิเล็กทรอนิกส์, การแสดงผลในรูปแบบต่างๆ, การประมวลผลภาพ และ หุ่นยนต์อัจฉริยะ ตามระเบียบของโรงงานอุตสาหกรรม, สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับชีวิตประจำวันและการเขียนรายงานภาษาอังกฤษสำหรับอุตสาหกรรมได้.
ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 149 หน่วยกิต
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ผ่านการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง
- มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร |
149 |
หน่วยกิต |
|||
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
30 |
หน่วยกิต |
|||
ก. กลุ่มวิชาภาษา |
12 |
หน่วยกิต |
|||
– วิชาบังคับ |
6 |
หน่วยกิต |
|||
– วิชาเลือก |
6 |
หน่วยกิต |
|||
ข. กลุ่มวิชาบูรณาการ |
3 |
หน่วยกิต |
|||
ค. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ |
9 |
หน่วยกิต |
|||
ง. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ |
3 |
หน่วยกิต |
|||
จ. กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ |
3 |
หน่วยกิต |
|||
2) หมวดวิชาเฉพาะ |
113 |
หน่วยกิต |
|||
1. กลุ่มวิชาแกน |
48 |
หน่วยกิต |
|||
– วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม |
30 |
หน่วยกิต |
|||
– วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ |
18 |
หน่วยกิต |
|||
2. กลุ่มวิชาชีพ |
59 |
หน่วยกิต |
|||
– วิชาชีพบังคับ |
53 |
หน่วยกิต |
|||
– วิชาเฉพาะด้าน |
6 |
หน่วยกิต |
|||
3. กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 6 หน่วยกิต |
|||||
4. วิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพภาคฤดูร้อน (SหรือU) |
4 |
หน่วยกิต |
|||
(ไม่นับหน่วยกิต) |
|||||
3) หมวดวิชาเลือกเสรี |
6 |
หน่วยกิต |
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : เมษายน – พฤษภาคม
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 25,000 บาท /ภาคการศึกษา
ELO 2 (G) แสดงออกถึงความมีวินัย มีจรรยาบรรณ ปฏิบัติตามกฏระเบียบ และมีความสารถในการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น
ELO 3 (G) มีทักษะในการสื่อสารและการนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อศึกษาและค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเอง
ELO 4 (S) เข้าใจหลักการทำงานและมีทักษะในการใช้งานระบบเซนเซอร์ ระบบไฟฟ้า และระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกระบวนการทำงานในภาคอุตสาหกรรม
ELO 5 (S) เข้าใจมาตรฐานความปลอดภัยและกฏข้อบังคับตามหลักสากลที่เกี่ยวของกับงานทางด้านวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
ELO 6 (S) สามารถคำนวณและประยุกต์โดยใช้ความรู้พื้นฐานในการออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติ
ELO 7 (S) ประยุกต์ใช้ทฤษฎีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ในการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมอุปกรณ์ จัดการข้อมูลสำหรับงานทางด้านอุตสาหกรรม
ELO 8 (S) ออกแบบระบบพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งและโครงข่ายประสาทเทียม
ELO 9 (S) สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ โดยบูรณาการจากศาสตร์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างเป็นระบบ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรด้านระบบการผลิตอัตโนมัติ
- วิศวกรด้านหุ่นยนต์
- โปรแกรมเมอร์สำหรับระบบควบคุมอัตโนมัติ
- โปรแกรมเมอร์สำหรับระบบอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง
- ฝ่ายขายระบบอัตโนมัติขั้นสูง
- นักออกแบบด้านแมคคาทรอนิกส์
- ทำงานภาครัฐและเอกชน
- บุคลากรทางด้านการศึกษา
- ผู้ช่วยนักวิจัยในสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ประกอบการ
สถานที่ติดต่อ
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ชั้น 2 อาคาร 63
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยียพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
http://mm.cit.kmutnb.ac.th/program.php
02 – 555 – 2000 ext 6438