หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม (2 ปี)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อมถูกออกแบบมาสำหรับ นักศึกษาที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในหลายมิติในสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม โดยนักศึกษาสามารถยื่นขอสอบระดับวิศวกรการเชื่อมสากลได้จากสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทยหลังจากสำเร็จการศึกษา วุฒิบัตรวิศวกรงานเชื่อม (IWE) ได้รับการยอมรับในระดับสากลซึ่งผู้ถือวุฒิบัตรนี้สามารถทำงานด้านวิศวกรรมการเชื่อมได้ทั่วโลก
ลักษณะของหลักสูตรโท 2 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
- มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร บัณฑิต อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หรือด้วยความเห็นชอบของภาควิชา เทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
หลักสูตร
รวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาบังคับ 30 หน่วยกิต
วิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ภาคการศึกษา
- ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน-ตุลาคม
- ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน-มีนาคม
- จัดการเรียนการสอนวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00-16.00 น.
- 45,000 บาทต่อภาคการศึกษา
PLO 2 (S) : สามารถอธิบายพฤติกรรมและวิเคราะห์โครงสร้างทางโลหะวิทยาของการเชื่อมโลหะกลุ่มเหล็กและนอกกลุ่มเหล็กได้อย่างถูกต้อง มีความเชี่ยวชาญในการเลือกลวดเชื่อม และกระบวนการเชื่อมให้เหมาะสมกับโลหะงาน รวมถึงประยุกต์ใช้กระบวนการทางความร้อนได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล
PLO 3 (S) : สามารถกำหนดรอยต่องานเชื่อมที่เหมาะสมกับการรับภาระสถิตย์และพลวัตรตามข้อแนะนำของมาตรฐานสากล ออกแบบโครงสร้างงานเชื่อม ภาชนะรับแรงดันและระบบท่ออุตสาหกรรมตามมาตรฐานสากลได้อย่างถูกต้อง พิจารณาปัจจัยความปลอดภัยทางด้านวิศวกรรมโดยวิธีการคำนวณและการวิเคราะห์ความแข็งแรงของรอยเชื่อม
PLO 4 (S) : มีความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการทดสอบแบบไม่ทำลายสภาพและทำลายสภาพ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลความสมบูรณ์ของรอยเชื่อม สมบัติทางเคมี สมบัติทางกล และประสิทธิภาพรอยเชื่อม สามารถสร้างข้อกำหนด ขั้นตอนการเชื่อมเพื่อควบคุมและประกันคุณภาพงานเชื่อมตามมาตรฐานสากล
PLO 5 (S) : สามารถสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลสากล ทบทวนและอ้างอิงผลงานวิจัยตามหลักวิชาการและจริยธรรมอันดี สร้างโจทย์วิจัยใหม่หรือนวัตกรรมใหม่เพื่อตอบเสนอความต้องการทางอุตสาหกรรมหรือบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อมร่วมกับสหวิทยาการเพื่อเป็นผู้ประกอบการ ออกแบบระเบียบวิธีวิจัยวิเคราะห์ อภิปรายผล และนำเสนอผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
-
วิศวกรงานเชื่อม
- นักวิจัย
- ครู/อาจารย์
- ผู้ประการที่เกี่ยวข้องด้านวิศวกรรมการเชื่อม
สถานที่ติดต่อ
สำนักงานภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม ชั้น 4 อาคาร 62 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยียพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
02 – 555 – 2000 ext 6406 (สำนักงานภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม)
https://www.facebook.com/WeldingTime/
Wdet-cit@cit.kmutnb.ac.th