ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า (Department of Electrical Engineering Technology) เป็นภาควิชาที่สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปัจจุบันเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี จำนวน 2 หลักสูตร และหลักสูตรปริญญาโท จำนวน 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีทำการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (PnET) และหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (PNT) ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะทาง เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ระบบควบคุมในเครื่องจักร กระบวนการผลิต และการบำรุงรักษาทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจบริการได้ โดยการเรียนการสอนจะให้ความสำคัญทั้งเชิงทฤษฎีและลงมือปฏิบัติ เพื่อให้บัณฑิต คิดเป็น ทำเป็น เน้นความรู้เฉพาะทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง สำหรับระดับปริญญาโท เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าประยุกต์ (MAEE) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความสามารถของผู้เรียนในหลากหลายสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า หลักสูตรนี้เป็นการบูรณาการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติจริง นอกจากนี้หลักสูตรดังกล่าวยังสอดคล้องกับวิศวกรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมด้วย ผลลัพธ์ของหลักสูตรคือการแนะแนวทางในการสร้างทักษะด้านวิศวกรรมและทักษะการเป็นผู้นำแก่ผู้เรียน

ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 148 หน่วยกิต

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และ ภาษาต่างประเทศหรือเทียบเท่าจากสถาบัน การศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขาเครื่องกล สาขาเทคนิคโลหะ อุตสาหกรรมการต่อเรือ เทคนิคการเชื่อมอุตสาหกรรม เทคนิคการเชื่อมโลหะ เทคนิคงานท่ออุตสาหกรรม เทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร เทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เทคนิคอุตสาหกรรม สาขาอุตสาหกรรมการผลิต สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรมสาขางานติดตั้งและบำรุงรักษา
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาไฟฟ้ากำลัง หรือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเทียบเท่า ที่เรียนและมีหน่วยกิตทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
  • มีคุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

หลักสูตร

1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
ก.   กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
           ข.  กลุ่มวิชาบูรณาการ 3 หน่วยกิต
           ค.  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 10 หน่วยกิต
           ง.  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
           จ. กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
2)   หมวดวิชาเฉพาะ 112 หน่วยกิต
      ก.  กลุ่มวิชาแกน 47 หน่วยกิต
      ข.  กลุ่มวิชาชีพ 58 หน่วยกิต
      ค.  วิชาประสบการณ์ภาคสนามและวิชาชีพ 7 หน่วยกิต
      ง.  กลุ่มวิชาฝึกงาน 240 ชั่วโมง
3)   หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวม 148 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : เมษายน – พฤษภาคม

ค่าธรรมเนียมการศึกษา  25,000 บาท /ภาคการศึกษา

ELO 1 (S) มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมถึงพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม สำหรับประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง และการควบคุมอัตโนมัติ
ELO 2 (G) มีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ระบบดิจิทัล สำหรับการประยุกต์ใช้และแก้ปัญหาในงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง และการควบคุมอัตโนมัติ ตลอดจนมีทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการออกแบบ จำลองและวิเคราะห์ผล รวมไปถึงการเขียนโปรแกรมควบคุมในงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
ELO 3 (S)  มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ในการประยุกต์ใช้วงจรแปลงผันพลังงานไฟฟ้า การขับเคลื่อนเครื่องจักรกลไฟฟ้า รวมถึงการควบคุมอัตโนมัติ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
ELO 4 (S) มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ร่วมกับการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง รวมไปถึงการควบคุมอัตโนมัติ เป็นผู้พัฒนา สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม
ELO 5 (G) มีความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสังคม
ELO 6 (G) มีทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การนำเสนอ การใช้สื่อเทคโนโลยี และการคิดอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีความสามารถในการบริหารเวลา การเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานเป็นทีม และการสื่อสารกับผู้ร่วมงาน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบ ติดตั้ง และควบคุมการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
  • วิศวกรไฟฟ้า
  • ผู้ช่วยนักวิจัย
  • พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ที่ประกอบกิจการด้านวิศวกรรมไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์กำลัง
  • ผู้ประกอบการ
  • บุคลากรทางการศึกษา

สถานที่ติดต่อ

สำนักงานภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้น 2 อาคาร 63 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

http://electrical.cit.kmutnb.ac.th/

02 – 555 – 2000 ext 6311

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า วทอ. Kmutnb

eet@cit.kmutnb.ac.th