สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน (DEET)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน เป็นหลักสูตรที่บูรณาการศาสตร์โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นมืออาชีพในงานด้านเทคโนโลยีหรือวิศวกรรมเฉพาะทาง และในขณะเดียวกันยังเป็นนักนวัตกรรม เพื่อรองรับการแข่งขันและการเจริญเติบโตการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกทั้งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องการใช้บุคลากรทางด้านวิศวกรรมพลังงานที่มีคุณภาพ และมีประสบการณIในการทำงานจริงเป็นจำนวนมาก

ลักษณะของหลักสูตรปริญญาเอก จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

  • ผู้เข้าศึกษาหลักสูตรแบบ 1.1 ต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท แผน ก ทางด้านวิศวกรรมหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ. ให้การรับรองด้านคุณวุฒิ โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00 และในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.50
  • ผู้เข้าศึกษาหลักสูตรแบบ 2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท แผน ก หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ. ให้การรับรองด้านคุณวุฒิทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
    เทคโนโลยี อุตสาหกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือหากจบแผน ข ต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการ หรือวารสารงานวิจัยในระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้บริหารสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง
  • มีผลสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด
    หรือตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่องเกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : เมษายน – พฤษภาคม
ในเวลาราชการ  วันจันทร์ – ศุกร์ 09.00 – 16.00 น.

นอกเวลาราชการ วันจันทร์ – ศุกร์ 18.00 – 21.00 น.

วันเสาร์ – อาทิตย์ 09.00 – 16.00 น.

1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม
ELO 1 (G) ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น
2) ด้านความรู้
ELO 2 (S) มีทักษะสามารถอธิบายหลักกการ และทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาวิชาได้อย่างถ่องแท้และลึกซึ้งกระบวนการค้นคว้าวิจัยด้านวิศวกรรมพลังงานอย่างเป็นระบบเกิดองค์ความรู้ใหม่
ELO 3 (S) มีความสามารถวิจัยพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงานได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่ในระดับชาติและระดับนานาชาติ
3) ด้านทักษะทางปัญญา
ELO 4 (G) มีความสามารถและทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ELO 5 (G) มีทักษะการทำงานทั้งในฐานะที่เป็นผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ELO 6 (S) มีทักษะการจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงานได้อย่างเหมาะสม
5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ELO 7 (S) มีทักษะในการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงานได้
ELO 8 (G) สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบข้อมูล คัดกรอง และนำเสนอข้อมูลได้
ELO 9 (G) สามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปสิ่งตีพิมพ์ในระดับชาติ และนานาชาติ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยในระดับสากล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และที่ปรึกษาทางด้านวิศวกรรมพลังงานทดแทน พลังงานความร้อนและการจัดการพลังงาน
  2. ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน ออกแบบและผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ครู อาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัยประจำสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และเอกชน
  4. ผู้ประกอบการและผู้บริหารธุรกิจด้านการจัดการพลังงาน พลังงานทดแทน และที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงาน

สถานที่ติดต่อ

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง ชั้น 2 อาคาร 63

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

 http://powereng.cit.kmutnb.ac.th/

02 – 555 – 2000 ext 6427