สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน (DAET)

                หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงานได้วางโครงสร้างของหลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมยานยนต์ในการตอบสนองการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยให้เติบโตภายใต้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยมีการส่งเสริมงานวิจัยที่เน้นทางด้านพลังงานทดแทนสำหรับยานยนต์ เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสงแดดเซลเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงชีวมวล เชื้อเพลิงสังเคราะห์ เชื้อเพลิงที่จากพืชผลทางการเกษตร เป็นต้น เพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจำกัดในยานยนต์ปัจจุบัน และรองรับกับยานยนต์รุ่นใหม่ในอนาคตทั้งในส่วนยานยนต์พลังงานร่วมและยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้รองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศและสามารถแข่งขันในประชาคมอาเซียนและระดับโลกได้

ลักษณะของหลักสูตรปริญญาเอก 3-4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิตและ72 หน่วยกิต

  • แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโททางด้านวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.25 จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) และมีผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่อย่างน้อย 1 เรื่อง
  • แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50 จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
  • แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
  • แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50 จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
  • ผู้สมัครต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดหรือตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่องเกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  • ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติไม่อยู่ในเกณฑ์ ข้อ 2.2.1 ถึง 2.2.4 ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

แบบ 1.1 (6 ภาคการศึกษา)
แบบ 1.2 (8 ภาคการศึกษา)
แบบ 2.1 (6 ภาคการศึกษา)
แบบ 2.2 (8 ภาคการศึกษา)
จัดการเรียนการสอน      วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.
                            วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 18.00 – 21.00 น.                                       
                            วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.                                  
                            ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน – ตุลาคม           
                            ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน – มีนาคม

ELO.1 วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน
ทดแทนสำหรับยานยนต์ เพื่อการพัฒนาและต่อยอดงานวิจัยเชิงลึกที่นำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยให้เติบโตภายใต้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย
ELO.2 บูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน เพื่อนำมาทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจำกัดในปัจจุบัน และรองรับยานยนต์รุ่นใหม่ในอนาคต ทั้งในส่วนยานยนต์พลังงานร่วมและยานยนต์ไฟฟ้า
ELO.3 สร้างสรรค์องค์ความรู้ งานวิจัยเชิงลึก และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงานในการออกแบบ วิเคราะห์ และแก้ปัญหางานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อรองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศและสามารถแข่งขันในประชาคมอาเซียนและระดับโลกได้
ELO.4 มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งความรอบรู้ในด้าน
เทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. วิศวกรทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมพลังงานและสาขาที่เกี่ยวข้อง

2. นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมยานยนต์

3. ครู อาจารย์ นักวิชาการ และ นักวิจัย

4. นักวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย

สถานที่ติดต่อ

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง ชั้น 2 อาคาร 63

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

 http://powereng.cit.kmutnb.ac.th/

02 – 555 – 2000 ext 6427