สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง

เทคโนโลยีการก่อสร้างในปัจุบันมีการปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการมุ่งเน้นการผลิตบุคลากรทางวิศวกรรมโยธาที่มีความพร้อมที่จะ ปฏิบัติงานในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน มีความสามารถในการปฏิบัติงานหรือพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความสามารถในการปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่เพื่อประยุกต์ใช้กับองค์กร และมีคุณธรรมจริยธรรม ในวิชาชีพ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง ของภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นหลักสูตรที่จัดมุ่งเน้นการเรียนการสอนเพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาในระดับสูง นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ได้และนักศึกษาต้องมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในแวดวงวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา

ลักษณะของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตร 3 ปี และ 4 ปี

  • แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต อุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี หรือปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร มหาบัณฑิต หรือชื่อปริญญาและสาขาวิชาอื่นที่เทียบเท่าโดยความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจพิจารณาให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โดยภาควิชาจะประกาศให้ทราบก่อนการขึ้นทะเบียนนักศึกษา ผู้เข้าศึกษาต้องมี ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.00 (เต็ม 4.00) จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) และ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Full Proceeding) และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่อง หรือมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบนฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับใน ระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง หรือมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติบนฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 อย่างน้อย 1 เรื่อง
  • แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี หรือปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ ชื่อปริญญาและสาขาวิชาอื่นที่เทียบเท่า โดยความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจพิจารณาให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โดยภาควิชา จะประกาศให้ทราบก่อนการขึ้นทะเบียนนักศึกษา ผู้เข้าศึกษาต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50 (เต็ม 4.00) จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและ
    10
    ต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
    และมีผลงานวิจัย ที่ได้รับการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Full Proceeding) และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่อง หรือมีผลงานวิจัยที่ได้รับ การตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบนฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง หรือมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติบนฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 อย่างน้อย 1 เรื่อง
  • แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต อุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี หรือปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร มหาบัณฑิต หรือชื่อปริญญาและสาขาวิชาอื่นที่เทียบเท่าโดยความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจพิจารณาให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โดยภาควิชาจะประกาศให้ทราบก่อนการขึ้นทะเบียนนักศึกษา ผู้เข้าศึกษาต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.00 (เต็ม 4.00) จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
  • แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี หรือปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต หรือชื่อปริญญาและสาขาวิชาอื่นที่เทียบเท่าโดยความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและ อาจพิจารณาให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โดยภาควิชาจะประกาศให้ทราบก่อนการขึ้นทะเบียนนักศึกษา เข้าศึกษาต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 3.50 (เต็ม 4.00) จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับ การรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
    ในกรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่อยู่ในเกณฑ์ข้อ 2.2.1, 2.2.2, 2.2.3 และ 2.2.4 ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตรและโดยความเห็นชอบ ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
  • ผู้สมัครต้องผ่านเกณฑ์การสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  • คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ในเวลาราชการ   วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.
นอกเวลาราชการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 18.00 – 21.00 น.
วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.

ค่าธรรมเนียมการศึกษา  18,000-20,000 บาท /ภาคการศึกษา

ELO1 (S) สามารถระบุปัญหา สืบค้นทางเอกสาร และแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้างที่ซับซ้อนจนได้ข้อสรุปของปัญหา โดยใช้หลักการและเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมได้อย่างถูกต้อง

ELO2 (S) สามารถหาคำตอบของปัญหาทางเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง วิศวกรรมโครงสร้างและวัสดุ วิศวกรรมปฐพี การจัดการทางวิศวกรรม หรือกระบวนการทางวิศวกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามความต้องการและข้อกำหนดงานโดยคำนึงถึงมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมโยธา รวมทั้งการทำงานจรรยาบรรณ คุณธรรมบริบทต่าง ๆ ของสังคมไทย

ELO3 (S) สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผลงานและปัญหาทางวิศวกรรมโยธา ซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมาย ข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผลทางวิศวกรรม

ELO4 (G/S) มีความรู้และความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ การลงทุนการจัดการงานก่อสร้างและ การ บริหารโครงการก่อสร้าง โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง

ELO5 (G) สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้หรือสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้างที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยีในระดับชาติและระดับนานาชาติ ตลอดจนสามารถสื่อสารและนำเสนอเป็นบทความวิจัยได้

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • บุคลากรทางการศึกษา
  • อาชีพอิสระ
  • ธุรกิจส่วนตัว
  • นักวิจัย
  • ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง

สถานที่ติดต่อ

สำนักงานภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม ชั้น 7 อาคาร 42

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

http://civil.cit.kmutnb.ac.th/

02 – 555 – 2000 ext 6511

https://www.facebook.com/CVET MCET Kmutnb

Nanthip.i@cit.kmutnb.ac.th

Bentiya.k@cit.kmutnb.ac.th