หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม.
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมการเชื่อมมีการพัฒนาและการแข่งขันสูง ทำให้ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถซึ่งเป็นงานเฉพาะทาง ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจโดยตรง ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อมจึงได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมให้มีการพัฒนาทางด้านอาชีพในสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม ตลอดจนยกระดับการศึกษาของประชาชน ที่สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า ให้ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ที่สูงขึ้นไป
ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 147 หน่วยกิต
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และ ภาษาต่างประเทศหรือเทียบเท่าจากสถาบัน การศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขาเครื่องกล สาขาเทคนิคโลหะ อุตสาหกรรมการต่อเรือ เทคนิคการเชื่อมอุตสาหกรรม เทคนิคการเชื่อมโลหะ เทคนิคงานท่ออุตสาหกรรม เทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร เทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เทคนิคอุตสาหกรรม สาขาอุตสาหกรรมการผลิต สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรมสาขางานติดตั้งและบำรุงรักษา
- มีคุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
หลักสูตร
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 | หน่วยกิต |
ก. กลุ่มวิชาภาษา | 12 | หน่วยกิต |
ข. กลุ่มวิชาบูรณาการ | 3 | หน่วยกิต |
ค. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต |
ง. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 3 | หน่วยกิต |
จ. กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ | 3 | หน่วยกิต |
2) หมวดวิชาเฉพาะ | 111 | หน่วยกิต |
2.1 กลุ่มวิชาแกน | 42 | หน่วยกิต |
2.2 กลุ่มวิชาชีพ | 63 | หน่วยกิต |
2.3 กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา | 6 | หน่วยกิต |
3) หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |
รวม | 147 | หน่วยกิต |
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : เมษายน – พฤษภาคม
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 25,000 บาท /ภาคการศึกษา
ELO 1 (S) สามารถปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพและนำเสนอข้อมูลตามข้อเท็จจริง มีความซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ELO 2 (G) มีความสามารถใช้ความรู้พื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์ เคมีและฟิสิกส์ กับการทำงานด้านวิศวกรรมการเชื่อม และบูรณาการเพื่อร่วมแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ELO 3 (S)มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมของกระบวนการเชื่อมแบบหลอมละลาย ไม่หลอมละลาย และกระบวนการเกี่ยวเนื่องอื่นๆ
ELO 4 (S) มีความสามารถในการเลือกใช้วัสดุและเข้าใจพฤติกรรมของวัสดุที่สอดคล้องกับด้านวิศวกรรมการเชื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ
ELO 5 (S)มีความสามารถในการออกแบบโครงสร้างงานเชื่อม ภาชนะรับแรงดันและระบบท่ออุตสาหกรรม ด้วยการคำนึงถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพเป็นสำคัญ
ELO 6 (S) มีความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมการเชื่อม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพด้านการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานสากลรวมถึงการประเมินราคา
ELO 7 (G) มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะการสื่อสารเป็นภาษาไทยภาษาอังกฤษ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการนำเสนอพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมการเชื่อม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรงานเชื่อม
- วิศวกรระบบท่อ
- วิศวกรฝ่ายขายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์งานเชื่อม
- ผู้ประกอบการเกี่ยวกับระบบวิศวกรรมงานเชื่อมและระบบท่ออุตสาหกรรม
- บุคลากรทางการศึกษา
- อาจารย์
- นักวิจัย
สถานที่ติดต่อ
สำนักงานภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม ชั้น 4 อาคาร 62 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยียพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
02 – 555 – 2000 ext 6406 (สำนักงานภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม)
https://www.facebook.com/WeldingTime/
Wdet-cit@cit.kmutnb.ac.th