หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต                                สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง

     ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่บุคลากรที่มีความรู้และทักษะเฉพาะทางไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์กำลังยังมีจำนวนจำกัด จำเป็นต้องสร้างเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ การศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง เป็นหลักสูตรเฉพาะทาง เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับ ระบบไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ระบบควบคุมในเครื่องจักร กระบวนการผลิต และการบำรุงรักษา ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจบริการได้ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว

ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี เทียบโอน 3 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต

 

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาไฟฟ้ากำลัง หรือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเทียบเท่า ที่เรียนและมีหน่วยกิตทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือ
  • มีคุณสมบัติอื่นๆเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : เมษายน – พฤษภาคม

ค่าธรรมเนียมการศึกษา  25,000 บาท /ภาคการศึกษา

ELO 1 (S)มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมถึงพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม สำหรับประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง และการควบคุมอัตโนมัติ

ELO 2 (S)
มีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ระบบดิจิทัล สำหรับการประยุกต์ใช้และแก้ปัญหาในงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและการควบคุมอัตโนมัติ ตลอดจนมีทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการออกแบบ จำลองและวิเคราะห์ผล รวม
ไปถึงการเขียนโปรแกรมควบคุมในงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง

ELO 3 (S)  มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ในการประยุกต์ใช้วงจรแปลงผันพลังงานไฟฟ้า การขับเคลื่อนเครื่องจักรกลไฟฟ้า รวมถึงการควบคุมอัตโนมัติ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง

ELO 4 (S) มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ร่วมกับการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง รวมไปถึงการควบคุมอัตโนมัติ เป็นผู้พัฒนา สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม

ELO 5 (G)  มีความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสังคม

ELO 6 (G)  มีทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การนำเสนอ การใช้สื่อเทคโนโลยี และการคิดอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีความสามารถในการบริหารเวลา การเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานเป็นทีม และการสื่อสารกับผู้ร่วมงาน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบ ติดตั้ง และควบคุมการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
  • วิศวกรไฟฟ้า
  • ผู้ช่วยนักวิจัย
  • พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ที่ประกอบกิจการด้านวิศวกรรมไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์กำลัง
  • ผู้ประกอบการ
  • บุคลากรทางการศึกษา

สถานที่ติดต่อ

สำนักงานภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้น 2 อาคาร 63 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

http://electrical.cit.kmutnb.ac.th/

02 – 555 – 2000 ext 6311

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า วทอ. Kmutnb

eet@cit.kmutnb.ac.th