สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง)
ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี ต่อเนื่อง จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 85 หน่วยกิต
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาไฟฟ้า / อิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไฟฟ้ากำลัง หรือ เครื่องมือวัด หรือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือ เทคนิคคอมพิวเตอร์ หรือ อิเล็กทรอนิกส์สื่อสาร หรือ โทรคมนาคม หรือเทียบเท่าตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
หลักสูตร
1.) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 15 หน่วยกิต ก.กลุ่มวิชาภาษา 6 หน่วยกิต ข.กลุ่มวิชาบูรณาการ 3 หน่วยกิต ค.กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต ง.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต 2.)หมวดวิชาเฉพาะ 64 หน่วยกิต ก.กลุ่มวิชาแกน 19 หน่วยกิต ข.กลุ่มวิชาชีพ 42 หน่วยกิต - วิชาบังคับ 36 หน่วยกิต - แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ - แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม - แขนงวิชาโทรคมนาคม - วิชาเลือก 6 หน่วยกิต - แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ - แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม - แขนงวิชาโทรคมนาคม ค.กลุ่มวิชาฝึกงาน 3 หน่วยกิต 3.)หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 25,000 บาท /ภาคการศึกษา
ELO 1 (S) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในการแก้ปัญหาทางพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ELO 2 (S) มีทักษะปฏิบัติการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อประกอบวิชาชีพ ในสาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย
ELO 3 (G) สามารถปฏิบัติงานตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ELO 4 (G) สามารถสืบค้น เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ (Computer)
ELO C.1 (S) สามารถออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบฝังตัวในการงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO C.2 (S) สามารถประยุกต์ใช้ โครงสร้างข้อมูล อัลกอริธึม และเทคนิคปัญญาประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหางานในภาคอุตสาหกรรมได้
ELO C.3 (S) สามารถออกแบบและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ เว็บแอปพลิเคชัน ระบบฐานข้อมูล ให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างมีมาตรฐานสากล
ELO C.4 (S) สามารถติดตั้งและบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานธุรกิจและอุตสาหกรรม
แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม (Instrumentation and control)
ELO I.1 (S) สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
ELO I.2 (S) มีทักษะการปฏิบัติงานด้านเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
ELO I.3 (S) สามารถใช้งานและเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานควบคุมในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
ELO I.4 (S) สามารถเลือกใช้ตัวควบคุม อุปกรณ์ส่งผ่านกำลัง และอุปกรณ์หรือวงจรเชื่อมต่อ ได้อย่างเหมาะสม
ELO I.5 (S) สามารถออกแบบและปรับจูนระบบควบคุมทางอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานได้
ELO I.6 (S) สามารถคำนวณและวิเคราะห์ระบบควบคุมพื้นฐานได้
แขนงวิชาโทรคมนาคม (Telecommunication)
ELO T.1 (S) สามารถใช้ความรู้และทักษะทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านการสื่อสารแอนะล็อกและดิจิทัล สำหรับดูแลและปรับปรุงระบบได้อย่างเหมาะสม
ELO T.2 (S) สามารถใช้ความรู้ด้านการรับส่งสัญญาณแบบไร้สายและแบบมีสายนำสัญญาณเพื่อติดตั้ง ดูแลและปรับปรุงระบบได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ELO T.3 (S) สามารถติดตั้งและใช้งานเครื่องมือเพื่อออกแบบและปรับปรุงระบบเครือข่ายการสื่อสารได้ตามมาตรฐาน
ELO T.4 (S) สามารถออกแบบและประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สมองกลฝังตัวและการสื่อสารสำหรับออกแบบการควบคุมผ่านโครงข่ายได้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรในภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และเครื่องมือวัดและควบคุม
- ผู้ช่วยนักวิจัย
- ผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินค้าและบริการในงานทางด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และเครื่องมือวัดและควบคุม
- บุคลากรทางการศึกษา
สถานที่ติดต่อ
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ชั้น 4 อาคาร 63
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
02 – 555 – 2000 ext 6333
https://www.facebook.com/eleccit
nucharinh@cit.kmutnb.ac.th