สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 147 หน่วยกิต

  • นักเรียนต้องได้รับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) ซึ่งมีหน่วยกิตวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
  • นักศึกษาต้องได้รับวุฒิ ปวช. สาขาไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์หรือไฟฟ้าอุตสาหกรรมหรือโทรคมนาคมหรือเมคคาทรอนิกส์หรือเทียบเท่าตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

หลักสูตร

  1. )หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
  • ก.กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
  • ข.กลุ่มวิชาบูรณาการ 3 หน่วยกิต
  • ค.กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 9 หน่วยกิต
  • ง.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  • จ.กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ 3 หน่วยกิต

2. )หมวดวิชาเฉพาะ 111 หน่วยกิต

  • ก.กลุ่มวิชาแกน 32 หน่วยกิต

-วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 17 หน่วยกิต

-วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม 15 หน่วยกิต

  • ข.กลุ่มวิชาชีพ 73 หน่วยกิต

-วิชาบังคับเฉพาะแขนง 61 หน่วยกิต

–แขนงวิชาโทรคมนาคม

–แขนงวิชาคอมพิวเตอร์

–แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม

–แขนงวิชาการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์

-วิชาเลือกเฉพาะแขนง 12 หน่วยกิต

–แขนงวิชาโทรคมนาคม

–แขนงวิชาคอมพิวเตอร์

–แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม

–แขนงวิชาการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์

  • ค.วิชาประสบการณ์ภาคสนามและวิชาชีพ 6 หน่วยกิต
  • ง.กลุ่มวิชาฝึกงาน * 240 ชั่วโมง

( * สำหรับนักศึกษาหลักสูตรเทียบโอน)

3.)หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร         147  หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

ค่าธรรมเนียมการศึกษา  25,000 บาท /ภาคการศึกษา

สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

ELO 1 (S) สามารถประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมพื้นฐานด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล
ELO 2 (S) สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และปลอดภัย
ELO 3 (G) สามารถปฏิบัติงานตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
ELO 4 (G) สามารถสืบค้น เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แขนงวิชาการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ (Broadcast)
ELO B.1 (S) สามารถออกแบบและผลิตสื่อในงานกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ โดยเลือกใช้อุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะทางได้อย่างเหมาะสม
ELO B.2 (S) สามารถควบคุมการดำเนินงานในสถานีกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ตามมาตรฐานสากล
ELO B.3 (S) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการติดตั้ง แก้ไข และ ตรวจสอบอุปกรณ์ในระบบการกระจายสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์
ELO B.4 (S) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมกับงานด้านการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ได้
ELO B.5 (S) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการติดตั้ง แก้ไข และตรวจสอบอุปกรณ์ในระบบแสง สี เสียง และเวทีตามมาตรฐานสากล
แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ (Computer)
ELO C.1 (S) สามารถออกแบบ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อการประยุกต์ใช้ระบบฝังตัวในการแก้ปัญหาทางอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO C.2 (S) สามารถวิเคราะห์และเลือกใช้ โครงสร้างข้อมูล อัลกอริธึม และเทคนิคทางด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหางานในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
ELO C.3 (S) สามารถออกแบบและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ เว็บแอปพลิเคชัน ระบบฐานข้อมูล ให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างมีมาตรฐานสากล
ELO C.4 (S) สามารถออกแบบระบบเครือข่าย และรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเครือข่ายได้ตามมาตรฐานสากล
แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม (Instrumentation and control)
ELO I.1 (S) สามารถเลือกและมีทักษะการใช้งานเครื่องมือวัดและควบคุมในภาคอุตสาหกรรมและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
ELO I.2 (S) สามารถเลือกและใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับงานควบคุมในภาคอุตสาหกรรมหรืองานที่เกี่ยวข้องได้
ELO I.3 (S) สามารถเลือกและใช้งานตัวควบคุม อุปกรณ์ขับเคลื่อน อุปกรณ์หรือวงจรเชื่อมต่อ และระบบบัสในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
ELO I.4 (S) สามารถออกแบบและปรับจูนระบบควบคุมทางอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานได้
ELO I.5 (S) คำนวณ วิเคราะห์และอธิบายระบบควบคุมพื้นฐานได้
แขนงวิชาโทรคมนาคม (Telecommunication)
ELO T.1 (S) สามารถใช้ความรู้และทักษะต่างๆ ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติของระบบการสื่อสารแอนะล็อกและดิจิทัลและระบบเครือข่ายการสื่อสาร
ELO T.2 (S) สามารถออกแบบระบบรับ-ส่งสัญญาณความถี่วิทยุโดยใช้ความรู้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ELO T.3 (S) สามารถออกแบบและวิเคราะห์ระบบสื่อสาร โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
ELO T.4 (S) สามารถออกแบบและพัฒนาระบบอัจฉริยะร่วมกับงานด้านโทรคมนาคม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • วิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • วิศวกรควบคุมและการวัดอัตโนมัติ
  • วิศวกรโสตทัศนูปกรณ์และโทรคมนาคม
  • วิศวกรคอมพิวเตอร์
  • ผู้ช่วยวิจัย
  • พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชนด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • ผู้ประกอบการ
  • บุคลากรทางการศึกษา

สถานที่ติดต่อ

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ชั้น 4 อาคาร 63

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

http://elec.cit.kmutnb.ac.th/

02 – 555 – 2000 ext 6333

https://www.facebook.com/eleccit

nucharinh@cit.kmutnb.ac.th