สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม หรือ CvET (Civil and Environmental Engineering Technology) เป็นส่วนหนึ่งของ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาควิชามีหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย
1) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี
2) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้าง
3) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมเมืองและสิ่งแวดล้อม
4) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้าง
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการเรียนการสอนในสาขาวิศวกรรมโยธา เทคโนโลยีการก่อสร้าง วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง โดยเน้นทั้งด้านวิชาการและแนวปฏิบัติ หลักสูตรปริญญาตรีมีการเสริมสร้างทักษะการทำงานจริงผ่านวิชาสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นระยะเวลาการฝึกภาคปฏิบัติ 1 ภาคการศึกษากับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถภาคปฏิบัติ และโอกาสในการทำงานของนักศึกษา ส่วนระดับบัณฑิตศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก มีการวิจัยหลากหลายสาขา โดยคณาจารย์มืออาชีพ ด้านวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมกลศาสตร์ดิน วิศวกรรมก่อสร้าง และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ลักษณะของหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 149 หน่วยกิต
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และ ภาษาต่างประเทศหรือเทียบเท่าจากสถาบัน การศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง และผ่านการเรียนรายวิชา คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่น้อยกว่า 3 0หน่วยกิต
หรือ - เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาโยธาหรือสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือสาขาเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง
ภาคการศึกษาที่ 1: มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2: พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 25,000 บาท /ภาคการศึกษา
ELO1 (S) สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมโยธา เพื่อกำหนดกรอบความคิดของแบบจำลองทางวิศวกรรม และประยุกต์วิธีการทางวิศวกรรมในการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมโยธาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผล
ELO2 (S) สามารถระบุปัญหา ตั้งสมการความสัมพันธ์ สืบค้นทางเอกสาร และแก้ปัญหาทางวิศวกรรมโยธาที่ซับซ้อนจนได้ข้อสรุปของปัญหาเบื้องต้น โดยใช้หลักการและเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ได้อย่างถูกต้อง
ELO3 (S) สามารถหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมโยธาที่ซับซ้อน และออกแบบระบบงานวิศวกรรมโยธาได้อย่างน้อย วิศวกรรมโครงสร้างและวัสดุ วิศวกรรมปฐพีและชลศาสตร์ วิศวกรรมสำรวจและการจัดการ หรือกระบวนการทางวิศวกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตามความต้องการและข้อกำหนดงานโดยคำนึงถึงมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมโยธา หรือข้อกำหนดด้านสังคม ความปลอดภัย การอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ELO 4 (S) สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผลงานและปัญหาทางวิศวกรรมโยธาที่ซับซ้อน ซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมายข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผลทางวิศวกรรม
ELO5 (S) สามารถสร้าง เลือก และประยุกต์ใช้เทคนิควิธี ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัย โดยคำนึงถึงข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์นั้น
ELO6 (G) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายในสหสาขาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานในฐานะสมาชิกของกลุ่มและผู้นำกลุ่มได้ สามารถปฏิบัติวิชาชีพได้ในสถานการณ์จริงร่วมกับสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างและองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรรมโยธา
ELO7 (G) สามารถติดต่อสื่อสารในงานวิศวกรรมโยธา วิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิผล ด้วยวาจา ด้วยการเขียนรายงาน การใช้ศัพท์เทคนิค การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรมโยธา ตลอดจนสามารถออกคำสั่งและรับคำสั่งงานได้อย่างชัดเจน
ELO8 (G/S) มีความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม ต่อบริบทของชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมโยธาที่ซับซ้อน ต่อชุมชนสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
ELO9 (G/S) มีความเข้าใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมโยธา และยึดถือปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพวิศวกรรมโยธา
ELO10 (G/S) มีความรู้และความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ การลงทุน การจัดการงานก่อสร้างและการบริหารโครงการก่อสร้าง โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง
ELO11 (G) ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้และรับผิดชอบเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนางานและพัฒนาตนได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคมเพื่อพัฒนาตนเองตลอดชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรโยธา / วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง / วิศวกรออกแบบและคำนวณ / วิศวกรตรวจสอบ / วิศวกรที่ปรึกษา / วิศวกรวางโครงการและนักบริหารโครงการก่อสร้าง
- เจ้าของธุรกิจก่อสร้างและผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง / ผู้รับเหมางานก่อสร้างรวมถึงงานบริการ ที่เกี่ยวข้อง
- ข้าราชการ / พนักงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- พนักงาน / นักบริหารงานของบริษัทเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง
- นักวิจัย / นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการก่อสร้างหรือนวัตกรด้านวิศวกรรมโยธาหรือที่เกี่ยวข้อง
- นักวิชาการ / อาจารย์ในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมโยธา หรือที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ติดต่อ
สำนักงานภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม ชั้น 7 อาคาร 42
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
http://civil.cit.kmutnb.ac.th/
02 – 555 – 2000 ext 6511
https://www.facebook.com/CVET MCET Kmutnb
Nanthip.i@cit.kmutnb.ac.th
Bentiya.k@cit.kmutnb.ac.th